Disclaimer
โปรแกรม KUIHerb นี้ใช้สำหรับรวบรวมข้อมูลสมุนไพรหลากหลายชุมชน โดยข้อมูลที่ปรากฏ เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ได้จากชุมชนต่างๆ ซึ่งยังไม่สามารถยืนยันความถูกต้องได้ อีกทั้งในการนำไปใช้ประโยชน์อาจจะมีข้อกำหนดและวิธีเฉพาะ ดังนั้นการนำข้อมูลไปใช้งานควรจะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องก่อน โดยทางคณะผู้จัดทำจะไม่รับผิดชอบใดๆ เกี่ยวกับการนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้งาน
 Home | Categories by Part-used | Categories by Symptom | Herbal News | Method for Preparation | Webboard | Manual |  Survey
For Member
Username :
Password :
 
- Member Registration
- Forgotten Your Password
Website's Statistics
Herbal Database
Herb Name : 1005
Herbal News: 9
Method for Preparation : 1

Member Statistics
Total : 18735
The new member : JulieDri
Online : 14

Activity
Today : 1
Monthly : 258
Year : 1356
Since 7 June 2007
 
KUIHerb / Categories by Symptom / ขับเสมหะ / มะกล่ำตาหนู

Herb Name : มะกล่ำตาหนู - Abrus precatorius L.

Please contribute images of this herb, the whole plant and the parts which can be used for medicinal or other proposes. Size of the image should not be exceed 800x600 in jpeg format. If the + does not appear, this indicates that you are not the member Go to Member Registration
Image Powered By KUIHerb project
Zoom Image Zoom Image
[#265] มะกล่ำตาหนู
   
Please contribute images of crude drugs from this herb. Size of the image should not be exceed 800x600 in jpeg format. If the + does not appear, this indicates that you are not the member Go to Member Registration
No Image
Please contribute links of images of about this herb. Keywords and Links have to be provided. If the + does not appear, this indicates that you are not the member Go to Member Registration
No Image
ดอก : มีสีชมพูอมม่วงและอาจมีสีขาว ออกตามง่ามใบ [4]

ดอก : ออกเป็นช่อ หรือเป็นกระจุกแน่นติดกัน ซึ่งออกตามบริเวณง่ามใบ ลักษณะของดอกมีกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียวเรียงซ้อนกันไปตามเข็มนาฬิกา กลีบมีรอยหยัก 4 รอย มีสีขาว ผิวข้างนอกมีขนนุ่มปกคลุม มีความยาวประมาณ 3 มม. กลีบดอกด้านล่างมีกลีบแหลมเล็กอยู่ 3 กลีบ กลีบด้านบนมีขนาดใหญ่กว่ากลีบด้านล่าง ดอกคล้ายดอกจำพวกตระกูลถั่ว [5]

ดอก : ออกเป็นช่อตามง่ามใบ กลีบเลี้ยงสีเขียว กลีบดอกสีขาวคล้ายดอกถั่ว [3]

ดอก : เป็นช่อที่ซอกใบ กลีบดอกมีหลายสี เช่น ม่วง แดง ชมพู หรือขาว [1]

ต้น : เป็นพรรณไม้เถา มีลำต้นเล็กยาว ลำต้นมีขนสั้นๆ ขึ้นประปราย [5]

ต้น : เป็นไม้เถาเลื้อย [3]

ผล : เป็นฝัก ฝักพองเป็นคลื่นเมล็ด ฝักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปลายฝักจะแหลมยื่นออกมา ฝักอ่อนมีสีเขียว เนื้อเปลือกฝักจะเหนียว เมื่อแก่ หรือแห้ง ฝักนั้นจะแตกอ้าออกจากกัน ข้างในฝักมีเมล็ดอยู่ 1-5 เม็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปกลมรี มีสีแดง บริเวณขั้วมีจุดสีดำ ผิวเรียบเกลี้ยง เมล็ดเหนียวและแข็ง [5]

ผล : เป็นฝัก ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาล [4]

ผล : เป็นฝัก เมื่อแก่ฝักจะแตกออก ภายในมีเมล็ดสีแดง ขั้วสีดำ ผิวเรียบและแข็ง [3]

ผล : เป็นฝักคล้ายถั่วลันเตา ภายในฝักจะมี 3-5 เมล็ด เมล็ดกลมรียาวขนาด 6-8 มิลลิเมตร เมล็ดมีเปลือกแข็ง สีแดงสดเป็นมัน มีสีดำตรงขั้วประมาณ 1 ใน 3 ของเมล็ด [1]

เมล็ด : รูปร่างรียาวมี 4-8 เมล็ด สีแดงสด ขั้วเมล็ดมีสีดำเป็นจุด เมล็ดเมื่อแก่เปลือกแข็งมาก [4]

ใบ : ออกเป็นคู่รูปขนนก มีใบย่อย 8-15 คู่ ขอบใบเรียบ [1]

ใบ : ออกเป็นใบรวม มีใบย่อยเรียงสลับกันคล้ายขนนก ยาวประมาณ 1.5-4 นิ้ว ใบย่อยออกเรียงกันประมาณ 8-20 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปกลมรี หรือกลมยาว ปลายใบแหลมมน โคนใบกลมมน ริมขอบใบเรียบ พื้นผิวใบเกลี้ยง ใบมีขนาดยาวประมาณ 5-20 มม. กว้างประมาณ 3-8 มม. ใต้ท้องใบมีขนขึ้นเล็กน้อย [5]

ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก [4]

ใบ : ใบประกอบ มีใบย่อยออกเรียงเป็นคู่ [3]

Thai Name : มะกล่ำตาหนู
English Name : Jequirity bean, Rosary bean, Buddhist rosary bean, Indian bead, Seminole bead, Prayer bead, Crab 's eye, Weather plant, Lucky bean, Love beads, Jequirity bean prayer vine, Precatory bean, American Pea
Science Name: Abrus precatorius L.
Family Name : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
  
Please contribute names of this herb in your local language. If possible, please contribute the location where the herb is called. Click VOTE for voting the names in a list OR Click +Contribute Other Names for the new name. If the + does not appear, This indicates that you are not the member, please click Go to Member Registration
Other Thai Name Show all (22) | Previous Previous 1 - 10 Next Next
Herb NameLocal Area Language and Method for LanguageVote Score
มะกล่ำแดง ภาคเหนือ เชียงใหม่4
กล่ำเครือ 2
กล่ำตาไก่ 2
มะกล่ำเครือ 2
ไม้ไฟ ตรัง2
เกมกรอม สุรินทร์2
ชะเอมเทศ 2
ตากล่ำ ภาคกลาง 2
มะขามเถา 2
มะแค็ก เชียงใหม่1
  
Please contribute your opinions about part used, indications on both folk and modern medicine and methods for preparation. Click VOTE for voting the opinions in a list OR Click +Contribute your opinions for the medicinal uses. If the + does not appear, This indicates that you are not the member, please click Go to Member Registration
Properties Show all (8) | Previous Previous 1 - 8 Next Next
Part UsedIndicationMethod of PreparationVote Score
เมล็ดแก้กลากเกลื้อน รักษาแผลมีหนอง แก้บวม แก้อักเสบ แก้หิด แก้ฝี แก้โรคผิวหนัง
นำมาบดให้ละเอียด ผสมกับน้ำ น้ำมันมะพร้าว หรือเกลือ ใช้พอกหรือทา2
รากแก้เจ็บคอ แก้หืด แก้ไอ ขับเสมหะ แก้ร้อนใน แก้อาเจียน ขับปัสสาวะ แก้หลอดลมอักเสบ แก้ตับอักเสบ แก้โรคดีซ่าน
ต้มเอานำกิน2
เถาแก้เจ็บคอ แก้หืด แก้ไอ แก้หลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ แก้ร้อนใน แก้อาเจียน แก้โรคดีซ่าน ขับปัสสาวะ
1
ต้นแก้เจ็บคอ แก้ไอ แก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคดีซ่าน แก้ตับอักเสบ ขับปัสสาวะ
ใช้ลำต้นและรากแห้ง ใช้ประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มเอานำกิน1
ต้นกระตุ้นน้ำลาย แก้ปวดตามข้อ แก้อักเสบ แก้จุดด่างดำบนใบหน้า
1
ใบแก้ไอ แก้ปวดตามข้อ แก้เจ็บคอ แก้หลอดลมอักเสบ แก้ตับอักเสบ กระตุ้นน้ำลาย ขับปัสสาวะ แก้ปวดตามข้อ
ใช้ใบสด ประมาณ 20-30 กรัม (แห้ง 10-15 กรัม) นำมาต้มเอาน้ำกิน1
เมล็ดแก้โรคตาแดง แก้ตาเป็นต้อ
1
ต้นแก้ไข้
1
Please click the + symbol to contribute your opinions about precautions and/or toxicity for this herb If the + does not appear, This indicates that you are not the member, please click Go to Member Registration

#1
เมล็ดมะกล่ำตาหนูภายในเมล็ดมีส่วนประกอบของ N-methyltryptophan, abric acid, glycyrrhizin, lipolytic enzyme และ abrin ซึ่งสูตรโครงสร้างของ abrin คล้าย ricin เป็นส่วนที่มีพิษสูงมาก หากเคี้ยว หรือกินเข้าไป เนื่องจากสารพิษจะไปทำลายเม็ดเลือดแดง ระบบทางเดินอาหาร

#2
abrin ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อ mucous membrane ลดการยืดหดของหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดขยายพอง ทำให้เกิดอาการหัวใจล้มเหลว เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร เส้นเลือดในเรตินาเสีย เกิดเนื้อตายในส่วนของตับและไต หลังจากรับประทานไปแล้วไม่กี่ชั่วโมงจะเกิดอาการคลื่นเหียน

#3
ระบบหลอดเลือด : พิษจากเมล็ดมะกล่ำตาหนูไม่มีผลโดยตรงต่อหัวใจ แต่อาจทำให้เกิดอาการช็อค ความดันโลหิตต่ำ และหัวใจเต้นเร็ว หลังจากที่คนไข้อาเจียนและท้องเสียอยู่นาน

#4
ระบบทางเดินหายใจ : คนไข้อาจเกิดภาวะ cyanosis คือ เกิดการขาดเลือดหรือออกซิเจนจนทำให้ผิวหนังเปลี่ยนสีเป็นสีเขียว ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากที่คนไข้มีความดันโลหิตต่ำ และช็อค

#5
ระบบประสาทส่วนกลาง : อาจมีอาการเซื่องซึม ชักกระตุก ประสาทหลอน และมือสั่น

#6
ระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ : ฤทธิ์ระคายเคืองของสารพิษ abrin ทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะและลำไส้อย่างรุนแรง ร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย กลืนลำบาก และปวดเกร็งท้อง การคลื่นไส้ และอาเจียนมีสาเหตุโดยตรงมาจากการระคายเคืองของเยื่อบุเมือกในกระเพาะอาหาร

#7
ผลต่อตับ : สารพิษมีฤทธิ์ไปทำลายเซลล์หรือเนื่อเยื่อของตับ ทำให้ระดับเอนไซม์ของตับในซีรัม เช่น แอสปาเตต ทรานเฟอเรส (AST) อะลานีน ทรานเฟอเรส (ALT) และแลคติก ดีไฮโดรจีเนส (LDH) มีค่าสูงขึ้นอย่างชัดเจน ระดับบิริลูบินในซีรัมมีค่าเพิ่มขึ้นแสดงว่ากำลังเกิดบาดแผล

#8
ระบบปัสสาวะ : อาการปัสสาวะน้อยลงหรือไม่ปัสสาวะเลย อาจเป็นผลมาจากความดันโลหิตต่ำที่เกิดขึ้นเป็นเวลานาน แต่ก็อาจมีสาเหตุมาจากภาวะไตล้มเหลวเฉียบพลัน การอุดตันของหลอดปัสสาวะด้วยฮีโมโกลบินที่มาจากเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ถูกทำลาย อาจส่งเสริมให้ไตวาย

#9
ระบบตา หู คอ จมูก : อาจมีอาการเลือดออกในเรตินา (retina) เกิดขึ้น ในช่วงแรกที่ได้รับสารพิษ อาจทำให้การมองเห็นลดลง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงที่เรตินา หากตาโดนสารพิษจะทำให้เยื่อบุตาบวมและแดงมาก นอกจากนี้การกลืนพืชพิษลงไปอาจทำให้ระคายเคืองคอได้

#10
ระบบเลือด : สารแอกกลูตินินของมะกล่ำตาหนูออกฤทธิ์โดยตรงต่อเม็ดเลือดแดงทำให้โลหิตตกตะกอนและสลายตัว และอาจทำให้เกิดเลือดไหลในทางเดินอาหาร

#11
ระบบเมทาบอลิซึม : การอาเจียน ท้องเสีย และมีเลือดออก นำไปสู่ภาวะสูญเสียของน้ำและอิเลกโตรไลส์ ( Fluid and electrolyte disturbances ) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้คนไข้ไม่รู้สึกตัว กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย หัวใจเต้นผิดปกติ และกล้ามเนื้อเป็นตะคริว ผลของการอาเจียนเป็นเวลานาน

Please click the + symbol to contribute your opinions about additional information for this herb If the + does not appear, This indicates that you are not the member, please click Go to Member Registration

7. http://dit.dru.ac.th/herb/detail.php?pdid=213

8. http://www.rspg.thaigov.net/plants_data/use/toxic_33.htm

9. http://en.wikipedia.org/wiki/Abrus_precatorius

10. http://en.wikipedia.org/wiki/Fabaceaeอ

11. http://ittm.dtam.moph.go.th/data_articles/t8.htm

12. http://www.wattano.ac.th/pantip/pitpantip/pages/3.html

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 | Copyright © 2007-2024 KUIHERB All rights reserved.
KUIHERB is licensed under Creative Commons License.